ทำไมต้องกักโรคนก?
top of page
  • Writer's picturevitapets

ทำไมต้องกักโรคนก?


เชื่อว่าก่อนหน้านี้ชาวไทยทุกคนต่างก็เฝ้าลุ้นไปกับปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าอคาเดมี่ออกจากถ้ำหลวงกัน และนับเป็นข่าวดีของพวกเราชาวไทย(และชาวโลกทุกคน) ที่วันก่อนนี้ได้ทราบว่าหมูป่าทั้ง 13 ได้ถูกช่วยเหลือออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และก็แน่นอนว่าที่แรกที่ถูกส่งตัวไปหลักจากออกจากถ้ำก็คือ “โรงพยาบาล” ตอนนี้ ทีมหมูป่าฯต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายโดยละเอียด ต้องปฎิบัติตามมาตรการควบคุมโรค โดยมีขั้นตอนและระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนตามมาตรฐานการป้องกัน ควบคุมโรค มีการเจาะเลือด ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ฉีดวัคซีนป้องกัน ให้วิตามินและยาปฏิชีวนะ…

เด๋วนะ...เรื่องทีมหมูป่ากลับบ้านมันเกี่ยวอะไรกับการกักโรคนกละนี่!?!

ในฐานะคนเลี้ยงนก เมื่อมีการนำนกใหม่เข้ามาที่บ้าน (หรือนกที่หลุดหายไปกลับมาอีกครัง) ควรใช้มาตรการควบคุมโรคกับนกใหม่ เช่นเดียวกับที่ทีมแพทย์ปฏิบัติกับทีมหมูป่าฯ ก่อนจะนำนกใหม่เข้ามาเลี้ยงรวมกับนกที่มีอยู่เดิม ต้องทำการกักกันโรคนก เพื่อป้องกันนกทั้งสองกลุ่มจากเชื้อโรค เนื่องจากนกแต่ละกลุ่มจะคุ้นเคยกับเชื้อโรคซึ่งพบได้ในสภาพแวดล้อมเดิม นอกจากนี้นกซึ่งนำเข้ามาใหม่ยังอาจเกิดความเครียด ทำให้เกิดภาวะกดภูมิคุ้มกัน ดังนั้นนกอาจป่วยจากเชื้อโรคที่มีอยู่เดิม หรือที่ได้รับเข้าไปใหม่ ซ้ำร้ายนกที่เรามีอยู่เดิมก็อาจป่วยด้วยอีกเช่นกัน เนื่องจากได้รับเชื้อจากนกที่นำเข้ามาใหม่ในปริมาณมาก ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรแยกเลี้ยงนกซึ่งนำเข้ามาใหม่จากนกที่มีอยู่เดิมเสียก่อนเพื่อกักกันโรค เป็นเวลาอย่างน้อย 30-45 วัน และให้นกปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่

โรคที่พบบ่อยในนกแก้ว

Psittacosis หรือ Ornithosis (ไข้นกแก้ว) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในตระกูลนกแก้ว (Psittacine) นกที่เป็นโรคนี้จะปรากฏอาการ จมูกแฉะ น้ำตาไหล หายใจหอบ/หายใจลำบาก ขนฟูยุ่งเหยิง หัวบวม เบื่ออาหาร ลูกตาไม่แจ่มใส ท้องร่วง เป็นต้น หากนกติดเชื้อได้ปริมาณร้ายแรง อาจตายในระยะเวลา 7 วัน หลังมีอาการ (โรคชนิดนี้สามารถติดต่อถึงมนุษย์ได้)

หากเพิ่งรับนกเข้ามาใหม่ ควรตรวจเชื้อโรคนี้ ภายใน 48 ชมแรก และกักโรคโดยใช้ยาปฏิชีวนะระยะเวลา 6 สัปดาห์เพื่อให้มั่นใจว่านกปลอดเชื้อ ก่อนจะพาน้องใหม่ไปร่วมกรงกับนกตัวอื่น

พึงระลึกใว้เสมอว่า นกที่ดูเหมือนจะสบายดีแท้จริงแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น โดยธรรมชาติแล้ว นกที่ป่วยจะพยายามเก็บอาการ ไม่แสดงออกให้เห็นว่าป่วยใว้ให้นานที่สุดเท่าที่มันจะทนได้ เมื่อใหร่ที่คุณสังเกตุเห็นว่านกได้แสดงอาการป่วย นั่นแปลว่านกคุณมันป่วยมาได้สักพักแล้ว...

 

เนื้อหาในบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ VITAPETS ผู้ใดประสงค์จะคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง หรือเผยแพร่บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ต้องได้รับการยินยอมจากทางเพจก่อนเท่านั้น สำหรับการเผยแพร่ทั่วไป สามารถกดปุ่ม SHARE ด้านล่าง หรือคัดลอกลิงค์บทความไปได้เลยครับ :)


ติดตามบทความใหม่ๆผ่าน LINE ได้ที่ @vitapets (กดปุ่มด้านล่าง)

951 views0 comments
bottom of page